350 จำนวนผู้เข้าชม |
เคี้ยวแล้วเจ็บ ทานข้าวไม่ได้ เกิดจากอะไร?
หากคนไข้เกิดอาการเคี้ยวแล้วเจ็บฟัน จนต้องหลีกเลี่ยงไปใช้ฟันอีกข้างนึงเคี้ยวข้าว อาการแบบนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ
1.มีฟันผุขนาดใหญ่ : ทานข้าวแล้วเศษอาหารติด ทำให้มีอาการปวด หรือแม้ไม่ได้ทานข้าว แค่กัดฟันก็เจ็บแล้ว ถ้าเป็นแบบหลังแสดงว่าฟันผุนั้น ๆ ทะลุโพรงประสาทแล้ว ทำให้ปลายรากฟันอักเสบ เกิดอาการเคี้ยวเจ็บ
การรักษา: หากมีอาการเจ็บแค่ตอนเศษอาหารติด โดยทั่วไป สามารถอุดฟันได้ เมื่ออุดแล้ว รูหายไป อาการจะหายไปเอง แต่ถ้ามีอาการเจ็บแม้ไม่ได้ทานข้าว อาจจะต้องรักษารากฟันหรือไม่ก็ถอนฟัน
2. ไปเคี้ยวของแข็งมา เช่น เจอกรวดในข้าว เผลอเคี้ยวไปเต็มแรง วันถัดมาอาจมีอาการเสียวหรือเจ็บฟันซี่นั้น ๆได้ หากกัดแรงมาก ๆ ฟันอาจร้าวหรือแตกได้
การรักษา: รีบมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจดูว่าฟันมีรอยร้าวหรือแตกหรือไม่ ถ้าไม่มี อาการจะค่อยๆดีขึ้นได้เอง โดยควรหลีกเลี่ยงการใช้งานของฟันซี่นั้น ๆ แต่ถ้ามีรอยร้าวหรือแตก ทันตแพทย์จะพิจารณาว่ายังสามารถอุดหรือทำครอบได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ อาจจะต้องถอนฟัน
3. ฟันซี่ที่มีอาการ เพิ่งไปอุดฟันมา : มักจะมีอาการหลังจากไปอุดมา 2-3 วัน อาการดังกล่าวมักเกิดจากวัสดุอุดฟันบางมุม มีการสบกระแทก สบสูง
การรักษา : รีบนัดพบทันตแพทย์เพื่อกรอแก้ไขจุดสูง หากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ อาจส่งผลเสียรุนแรงได้
4. กัดฟันแล้วโยกปวดๆ หน่วงๆ : อาการที่พบร่วมด้วยคือแปรงฟันโดนแล้วมีเลือดออกและฟันโยก ส่วนใหญ่จะเป็นโรครำมะนาด หรือโรคปริทันต์อักเสบ ซึ่งเกิดจากเชื้อโรคในหินปูน ปล่อยสารพิษกระตุ้นให้เหงือกและกระดูกรอบรากฟันอักเสบและละลาย
การรักษา : ต้องรักษาโรคเหงือกด้วยการขูดหินปูนและเกลารากฟัน ถ้าเป็นไม่รุนแรง ฟันจะหายโยกและหายเจ็บ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน ฟันโยกมาก อาจจะต้องถอนฟันซี่นั้นๆได้
อ่านเพิ่ม
*ในกรณีที่ฟันยังสามารถอุดได้ อ่านเรื่อง อุดฟันสีเหมือนฟัน
*กรณีฟันผุแตกใหญ่จนมีอาการปวด หรือ เนื้อฟันหายไปมาก ๆ อาจต้องรักษาด้วยการ รักษารากฟัน และ/หรือ ครอบฟัน
อ่านเรื่อง > รักษารากฟัน
อ่านเรื่อง > ครอบฟัน
*ในบางกรณีฟันอาจจะไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้หรือบูรณะไม่ได้ ต้อง ถอนฟัน